มาดูความเหมือนที่แตกต่างของ Online Marketing – Offline Marketing

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตจนแทบจะผันตัวเป็นปัจจัยที่ 6 ที่มนุษย์แทบจะขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะหาข้อมูล อ่านข่าว ช็อปปิ้ง เล่นเกมส์หรือเล่น Social กับเพื่อนๆ ต่างก็ต้องใช้อินเตอร์เน็ตด้วยกันทั้งสิ้น

ผลจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วนี้เอง ทำให้สื่อออนไลน์กลายเป็นเครื่องมือสื่อสารชิ้นสำคัญที่นักการตลาดพลาดไม่ได้ เรียกได้ว่าเป็นช่องทางการสื่อสารที่ใกล้ชิดผู้บริโภคมากที่สุดในขณะนี้ หลายๆแบรนด์จึงเริ่มหันมาให้ความสำคัญและสนใจทำการตลาดออนไลน์มากขึ้น เพราะการทำการตลาดปัจจุบัน ไม่ได้จบอยู่แค่ออฟไลน์หรือออนไลน์อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องเป็นการตลาดแบบผสมผสาน (IMC : Integrated Marketing Communication) จึงไม่แปลกเลยที่หลายๆครั้งจะเห็นชาวออนไลน์แบกกล้องถือรีเฟลคซ์บ้าง ส่วนชาวออฟไลน์ก็จำเป็นต้องรู้เรื่องออนไลน์เบื้องต้นเพื่อให้คำแนะนำกับลูกค้าได้เช่นกัน และยังมีเรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับออนไลน์อีกมาก วันนี้ลองมาทำความเข้าใจเบื้องต้นกันค่ะ

1. ฮาร์ดเซลคือใช่

จากที่เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า Smartphone เข้ามามีบทบาทมากในปัจจุบัน ส่งผลให้ Social Media กลายมาเป็น Channel สุดฮิตในขณะนี้ ที่ไม่ว่าผู้บริโภคหรือแบรนด์ก็ต่างใช้งานกันอย่างสนุกสนาน เรื่องของการทำ Content จึงเป็นตัวกลางสำคัญที่จะช่วยเชื่อมให้แบรนด์สื่อสารสิ่งที่แบรนด์ต้องการพูดไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น

การทำ Content ในโลกออนไลน์จะมีความแตกต่างจากออฟไลน์ตรงที่สามารถสื่อสารได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงพูดครั้งเดียวแล้วจบเหมือนนิตยสาร แต่เปรียบเสมือนเป็นรายการโทรทัศน์ที่มีให้รับชมกันทุกวัน และสามารถเลือกสร้างสรรค์ลักษณะ Content ได้ว่า จะให้เป็นแบบรายการข่าวตอนเช้าคือพูดข่าวสารของแบรนด์อย่างตรงไปตรงมา เช่นโปรโมชั่นหรือประชาสัมพันธ์แบรนด์หรือจะทำ content แบรนด์ให้เป็นแบบละครหลังข่าวคือใส่ความบันเทิงระหว่างการสื่อสารแบรนด์ ออนไลน์ก็สามารถเป็นได้ทุกบทบาท อาจจะผสมผสานทั้ง 2 ลักษณะเข้าด้วยกันก็เป็นได้ เพื่อให้ผู้บริโภคที่ติดตามข่าวสารจากแบรนด์ไม่รู้สึกว่าแบรนด์ตึงเครียดและยัดเยียดการขายของมากเกินไป เพราะธรรมชาติของคน ย่อมต้องการรับสารที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและให้ความบันเทิงมากกว่าข่าวสารที่จริงจังตลอดเวลา เห็นได้จากเรตติ้งของละครหลังข่าวที่มักจะพุ่งสูงกว่ารายการข่าวเสมอ เช่นเดียวกัน ใช่ว่าผู้บริโภคที่กดติดตามแบรนด์ จะต้องการรับความฮาร์ดเซลจากแบรนด์อย่างเดียวเสมอไป

2. ต้อง Launch โฆษณาในช่วงที่คนเล่นอินเตอร์เนตเยอะที่สุดเวลาเดียวเท่านั้น

คนออฟไลน์ส่วนใหญ่มักจะเคยชินกับการซื้อ Offline Media ด้วยการซื้อช่วงเวลาการลงโฆษณาในแต่ละสื่อ แต่สำหรับการลงโฆษณาออนไลน์นั้นจะแตกต่างกันออกไป เพราะโฆษณาออนไลน์จะสามารถควบคุมความถี่ของการแสดงโฆษณาในแต่ละช่วงเวลาให้ตรงกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้ เช่นกลุ่มเป้าหมายเป็นคนวัยทำงาน อาจเริ่ม Launch แบนเนอร์ช่วงเช้าในเวลางาน แต่ปรับให้แบนเนอร์แสดงมากที่สุดในช่วงหลังเลิกงานหรือ Prime Time เพราะเป็นช่วงที่คนใช้อินเตอร์เนตมากที่สุด และลดจำนวนลงในช่วงหลังเที่ยงคืน เพราะเป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่เข้านอน เป็นต้น

3. ใส่ Effect ในแบนเนอร์ได้เต็มที่เหมือนวีดีโอ

งานออกแบบ ถูกสร้างขึ้นมาด้วยจินตนาการ แต่เราไม่สามารถยัดทุกจินตนาการของเราลงไปในงานออกแบบได้ทั้งหมด การทำแบนเนอร์ก็เช่นกัน บ่อยครั้งที่ลูกค้าอาจต้องการให้ออกแบบแบนเนอร์โดยอ้างอิงกับสื่ออื่นๆที่ทำ โดยเฉพาะ TVC ซึ่งเป็น สื่อที่มีความเหมือนกับแบนเนอร์คือสามารถเคลื่อนไหวได้ แต่ต่างกันที่ TVC สามารถสร้างสรรค์ Effect ได้มากมายแค่ให้อยู่ภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น แต่สำหรับแบนเนอร์ นอกจากข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาแล้ว ยังมีข้อจำกัดของขนาดไฟล์ซึ่งขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละเว็บไซต์ เช่น การทำแบนเนอร์สำหรับ Google Display Network จะสามารถทำได้เพียง 150 KB เท่านั้น ดังนั้น ความใฝ่ฝันที่จะทำ Effect ไฟฟ้าช็อตเป็นเส้นๆหรือใส่ Effect ระเบิดตู้มแบบในละคร จึงจำต้องสลายไป

4. ข้อความต้องให้เยอะเข้าไว้

ต่อเนื่องจากข้อ 3 ด้วยข้อจำกัดหลายๆอย่างของแบนเนอร์ที่ทำให้ใส่ Visual เยอะเท่าที่ใจต้องการไม่ได้ หลายคนจึงเปลี่ยนเป็นขอใส่ Text แทน ได้มั๊ยคะ ทั้งโปรโมชั่นเอย ของรางวัลเอยหรือเงื่อนไขก็ดี ทุกอย่างถูกยัดลงในแบนเนอร์ อย่างที่บอกไปว่าการทำแบนเนอร์ก็เป็นเหมือนการออกแบบงานศิลปะชิ้นหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะมองเรื่องของความสวยงามที่จะช่วยดึงดูดความสนใจ ถูกลดทอนลงไปเพราะข้อความที่อัดแน่นเต็มพื้นที่แล้ว ยังทำให้ผู้บริโภคอาจพลาด Message หลักที่แบรนด์ต้องการสื่อสารจริงๆไปได้ เพราะถูกข้อความอื่นๆที่สำคัญรองลงมาแย่งความสนใจไปหมด และแบนเนอร์ก็จะถูกมองข้ามไปในที่สุด

5. ต้อง Keywords นี้เท่านั้นถึงจะดี

นอกจากการโฆษณาบนเว็บไซต์แล้ว Google ก็ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางของที่ช่วยให้เพิ่มยอดขายได้อย่างดี โดยเป็นการทำการตลาดออนไลน์ที่ทำให้โฆษณาหรือเว็บไซต์ของเราปรากฏในหน้า Google เวลาที่ผู้บริโภคต้องการหาข้อมูล การเลือก Keywords จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญสำหรับการทำโฆษณาบน Google และแน่นอนอยู่แล้วว่า Keywords ที่เลือกใช้จะต้องมีความเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของแบรนด์ แต่ใช่ว่าคำที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์โดยตรงจะต้องเป็น Keywords ที่ดีเสมอไป โดยเฉพาะแบรนด์ที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ค่อนข้างเฉพาะกลุ่ม มักจะเลือก Keywords ที่เป็นศัพท์เฉพาะและน้อยคนนักจะรู้จัก จึงทำให้อาจจะพลาดโอกาสในการได้กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เพราะไม่สามารถสื่อสารไปยังกลุ่มผู้บริโภคใหม่ๆที่อาจจะยังไม่รู้จักแบรนด์แต่เริ่มมีความสนใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ก็เป็นได้ ทั้งนี้ นอกจากความเกี่ยวข้องกับแบรนด์แล้ว ยังต้องพึ่งพาอัตรา Search Volume ช่วยชั่งน้ำหนักในการตัดสินใจเลือก Keywords ควบคู่กันไป เพราะบางสิ่งที่อาจดีงาม เหมาะสมสำหรับเรา อาจไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสมกับคนอื่นๆ

ถ้าว่ากันตามหน้าที่ เราคือผู้ให้คำแนะนำกับลูกค้าในการทำ Marketing เพื่อให้แบรนด์ของลูกค้าแกร่งกว่าคู่แข่ง แต่ในขณะเดียวกัน ลูกค้าก็คือผู้ให้บทเรียนหลายๆอย่างกับเรา ที่จะเป็นประสบการณ์ให้เราแกร่งขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน

Online และ Offline Marketing กับการทำธุรกิจขายห้องพักโรงแรม

มีโรงแรมจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจและให้ความสำคัญกับคำว่า Online Marketing คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เป็นเพราะโรงแรมเหล่านั้นให้นิยามของคำว่า “Marketing” เพียงแค่การขาย มากกว่าการใช้ประโยชน์ของการตลาดแบบบูรณาการในทุกๆ ด้าน

สำหรับบทบาทของ Online และ Offline Marketing ที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อสินค้า/บริการของลูกค้าไปใช้นั้น มีรูปแบบของความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้
1. Offline Marketing – Online Purchase เป็นการตลาดแบบดั้งเดิมทั่วไปผ่านช่องทาง Offline แต่วิธีการสั่งซื้อสินค้า/บริการ ทางธุรกิจมีช่องทาง Online เข้ามาใช้เพื่อความสะดวกในการจัดจำหน่าย แนวทางนี้จะมีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และโปรโมตสินค้าผ่านช่องทางการตลาดแบบ Offline ต่างๆ โดยให้ลูกค้าทำการสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์ของธุรกิจที่จัดเตรียมไว้ในการขายสินค้า
2. Offline Marketing – Offline Purchase เป็นการตลาดแบบดั้งเดิมทั่วไปผ่านช่องทาง Offline และยังคงใช้วิธีการสั่งซื้อสินค้า/บริการ แบบดั้งเดิมผ่านช่องทาง Offline ธุรกิจจะทำการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการขาย ผ่านช่องทาง Offline และสั่งซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Offline รูปแบบนี้จัดได้ว่าเป็นรูปแบบการตลาดแบบดั้งเดิมอย่างแท้จริง โดยไม่มีการนำเอาเทคโนโลยีทางด้าน Online มาใช้เลย
3. Online Marketing – Online Purchase เป็นการตลาดรูปแบบใหม่ผ่านสื่อและช่องทางการตลาดแบบ Online และมีระบบ Online Distribution สำหรับการสั่งซื้อ-ขายสินค้าอย่างสมบูรณ์ รูปแบบนี้เป็นรูปแบบการตลาดแบบ Online โดยสมบูรณ์ ที่ทางธุรกิจต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยี และช่องทางการจัดจำหน่ายแบบ Online มารองรับการซื้อ-ขาย หากไม่พัฒนาด้วยตนเองก็อาจจะเลือกใช้บริการช่องทางจัดจำหน่าย Online ในลักษณะของ Third Party
4. Online Marketing – Offline Purchase เป็นการตลาดผ่านสื่อและช่องทางการตลาดแบบ Online แต่ไม่มีการซื้อ-ขาย ผ่านช่องทาง Online รูปแบบนี้เป็นวิธีได้รับความนิยมอยู่เป็นอย่างมากในขณะนี้ เพราะธุรกิจต่างๆ สามารถใช้ช่องทาง Online ต่างๆ มาใช้กับการตลาดของตนเอง และมีช่องทาง Online ไม่น้อยที่มีให้ใช้ได้ฟรี และได้รับความนิยม

การที่จะเลือกใช้การตลาดในรูปแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของแต่ละ Segment ว่าจะสามารถใช้ช่องทางการสื่อสารการตลาด (Marketing Communication) รูปแบบใดจึงจะเหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม การที่จะเลือกใช้วิธีการจัดจำหน่าย และซื้อ-ขายสินค้าวิธีใดนั้น ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมในการซื้อสินค้าของลูกค้าแต่ละกลุ่มว่าจะนิยมซื้อสินค้าผ่านช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าใด อีกทั้งศักยภาพของธุรกิจในการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายด้วย

จะเห็นได้ว่าทั้น Online และ Offline Marketing นั้น ไม่ได้มีความสัมพันธ์หรือส่งผลต่อการขายในด้านใดด้านหนึ่งเป็นการเฉพาะ ซึ่งหมายความว่าความสำเร็จของการใช้ Online Marketing ไม่ได้วัดผลจากการซื้อ-ขาย สินค้าผ่านช่องทาง Online แต่เพียงอย่างเดียว เพราะลูกค้าอาจจะเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทาง Offline ก็เป็นไปได้ ในขณะเดียวกัน Offline Marketing ก็อาจจะมีการเข้ามาใช้ช่องทาง Online ในการหาซื้อสินค้า/บริการ ก็มีไม่ใช่น้อย
ในปัจจุบัน Online Marketing นั้นจัดได้ว่าเป็นรูปแบบและช่องทางการตลาดที่ต้นทุนต่ำ ครอบคลุมตลาดได้กว้างไกล ได้ผลรวดเร็ว และให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า Offline Marketing แบบดั้งเดิมอยู่เป็นจำนวนมาก

การทำการตลาดโลก ออฟไลน์ไปสู่ออนไลน์

อินเตอร์เน็ต หรือ โลกออนไลน์ นับวันยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะ ธุรกิจ ที่ โลกออนไลน์ คือช่องทางติดต่อสื่อสารโดยตรงกับกลุ่มลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง หลายองค์กรหรือหลายบริษัทจึงต่อยอดหรือแตกแขนงธุรกิจของตนเข้าสู่ โลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบเว็บไซต์ หรือสื่อสังคมออนไลน์อย่าง เฟซบุค ทวิตเตอร์

การตลาดในยุคปัจจุบัน หันมาใช้ด้าน Online Marketing มากขึ้น ด้วยเหตุที่ว่า อินเตอร์เน็ตนับมีส่วนสำคัญในการขยายฐานลูกค้าให้แก่ผู้ประกอบการ เนื่องจากกลุ่มลูกค้าจำนวนมากหันมาค้นหาข้อมูลในโลกออนไลน์กันมากขึ้นทุกๆ วัน ตลอดจนทั้งการแข่งขันในการเรื่องขอการนำเสนอสินค้าไปยังกลุ่มเป้าหมายมีการ แข่งขันการอย่างมาก โดยเฉพาะการทำการตลาดผ่าน Social Media ช่วยให้คุณทำการตลาดได้ง่ายขึ้น และมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการทำการตลาดแบบ ออฟไลน์ เป็นอย่างมาก ประกอบกับการทำการตลาดผ่าน Social Media โดยเฉพาะ Facebook นั้นมีขั้นตอนที่ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากเหมือนเว็บไซต์ และลูกค้าที่กดไลท์ชอบสินค้าหรือบริการของเรายังสามารถแชร์ให้เพื่อนเห็น เกิดเป็น Network มีผลให้สินค้าและบริการของเรามีการแพร่กระจายต่อไปยังผู้บริโภคคนอื่นๆ อีกด้วย  ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้ประกอบการหลายๆ ท่าน ต้องหันมาปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน

ออฟไลน์  รูปแบบการทำงานในสมัยเก่า เป็นธุรกิจเครือข่ายในลักษณะที่ไม่มีการใช้เทคโนโลยีทาง internet ใช้วิธีการติดต่อธุรกิจแบบปากต่อปาก หรือที่เรียกว่า Viral Marketing เพื่อทำการขายสินค้า รวมไปถึงชวนคนเข้าร่วมธุรกิจ

ออนไลน์ รูปแบบการทำการตลาดบน Internet แบบออนไลน์เป็นการทำการตลาดกับผู้ที่ใช้ Search engine หรือ Social Media ซึ่งเทคโนโลยีทางด้าน IT นั้นได้เข้ามาช่วยเหลือทำให้ผู้คนสะดวกสบายมากขึ้น ธุรกรรมต่างๆก็ใช้ website เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อกับผู้คนทั่วโลกที่กำลังออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Email , VDO และสื่อดิจิตอลอื่นๆ

แล้วเราจะเลือกแบบ Online หรือ Offline ดีล่ะ
วิธีการเลือกที่ดีที่สุดนั้นคือเลือกในแบบที่เราถนัด เพื่อสร้างผลลัำพธ์ให้เร็วที่สุดก่อน แล้วต้องรีบศึกษาวิธีที่เราไม่ถนัดควบคู่ไปด้วย เพื่อทำให้องค์กรเติบโตอย่างมั่นคง

โดยจะเห็นว่าปัจจุบันนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่มีการใช้เทคโนโลยี Online เข้ามาช่วยจะสามารถเติบโตได้เร็ว เพราะเป็นการทำตลาดกับคนได้กว้างขวางกว่า และมีระบบในการคัดกรองคนที่น่าสนใจ ทำให้ลดอัตราการออกของนักธุรกิจ เพราะนักธุรกิจล้วนมีความสนใจอยู่แล้ว ทำให้ไม่เหนื่อยในการทำงาน แต่องค์กรจะมั่นคงได้ก็ต่อเมื่อคนในองค์กรมีการเชื่อมความสัมพันธ์กัน ได้รู้จักกัน มีการช่วยเหลือกัน ก็จะสามารถทำให้องค์กรเติบโตได้อย่างมั่นคง

สำหรับนักธุรกิจแบบออฟไลน์ ถ้าหากถนัดด้านนี้ก็ควรใช้ทักษะที่ตัวเองมีหาผู้มุ่งหวังที่เรารู้จักให้ได้เร็วที่สุดก่อน และจะต้องเตรียมศึกษาวิธีออนไลน์ไว้ด้วย เพราะเราจะต้องรู้ความจริงที่ว่าเมื่อผู้มุ่งหวังของเราใกล้หมดเมื่อใด เราก็จำเป็นที่ต้องมีรายชื่อผู้มุ่งหวังใหม่ๆเข้ามา ซึ่งวิธีการทำออนไลน์ก็จะเป็นวิธีที่สามารถส่งทรัพยากรมาให้เราได้อย่างต่อเนื่อง เพราะโลกในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมาก การใช้วิธีออฟไลน์ เราจะมาชวนคนแบบหนึ่งต่อหนึ่ง โดยใช้เวลาและค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า และไม่รู้ว่าผู้มุ่งหวังจะสนใจหรือไม่ โลกในยุคปัจจุบันคุณจะค่อยๆถูกพวกออนไลน์แซงไปทีละนิด และเมื่อยิ่งเวลาผ่านไปยาวนานเท่าใด คุณจะยิ่งถูกแซงมากขึ้นเรื่อยๆ แต่การใช้วิธีออนไลน์ต้องอย่าลืมจัดระบบการเทรนนิ่งและรักษาคนในองค์ให้ดี เพราะนี่คือจุดอ่อนของวิธีออนไลน์เช่นกัน